มารู้จัก รอยร้าวบนผนัง และวิธีซ่อมแซมเบื้องต้น – Somic อุปกรณ์คู่ใจช่าง

มารู้จัก รอยร้าวบนผนัง และวิธีซ่อมแซมเบื้องต้น

Home / บทความ / มารู้จัก รอยร้าวบนผนัง และวิธีซ่อมแซมเบื้องต้น Return to Previous Page

รอยร้าวบนผนัง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายๆ คนต้องเคยเจอ รอยร้าวสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งบ้านใหม่ที่ก่อสร้างไม่ได้คุณภาพ และบ้านเก่าที่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ปัญหารอยร้าวตามผนังหรือเพดานนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดรอยร้าว ไม่ว่าจะเป็น ใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน สภาพอากาศ การทรุดตัวของพื้นดิน การสั่นสะเทือน หรือน้ำหนักที่โครงสร้างกำลังแบกรับ หากปล่อยทิ้งไว้ รอยร้าวเหล่านี้อาจจะขยายใหญ่ขึ้น นำไปสู่ความเสียหายที่ร้ายแรงขึ้น วันนี้ช่างช้างก็เลยจะพาทุกคนไปเจาะลึกถึงสาเหตุของรอยร้าว และทำความรู้จักกับรอยร้าวแต่ละชนิด พร้อมวิธีซ่อมแซมเบื้องต้นกันครับ

ลักษณะและประเภทของ รอยร้าวบนผนัง

รอยร้าวบนผนัง แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะและบ่งบอกถึงสาเหตุและความรุนแรงของปัญหาที่แตกต่างกัน มาสังเกตดูกันว่า ประเภทของรอยร้าวรูปแบบไหนที่สามารถซ่อมแซมเองได้ และแบบไหนที่ควรตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

1. รอยร้าวแตกลายงา

รอยร้าวบนผนัง-1

ลักษณะ รอยร้าวเล็กๆ กระจายทั่วผนัง มักเกิดขึ้นบนผิวปูนฉาบ

สาเหตุ เกิดจากงานฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้น ทำให้ปูนเกิดการยืดหดตัว

ความอันตราย เป็นรอยแตกร้าวที่ไม่อันตรายต่อตัวโครงสร้าง แต่ถ้าเป็นรอยร้าวขยายใหญ่ขึ้นก็ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ

2. รอยร้าว ที่มุมวงกบประตู-หน้าต่าง

รอยร้าวบนผนัง-2

ลักษณะ รอยร้าวเฉียงเล็กๆ ไม่ได้เป็นไปในทิศเดียวกัน เกิดขึ้นบริเวณมุมประตูหรือหน้าต่าง

สาเหตุ เกิดการยืดขยายของวงกบหน้าต่าง-ประตู ที่เกิดมาจากสภาพอากาศ หรือการละเลยไม่ทำเสาเอ็น คานเอ็น หรือทับหลัง ในผนังก่ออิฐ

ความอันตราย ถือว่าไม่รุนแรง สามารถซ่อมแซมได้เอง แต่ถ้าเกิดเป็นรอยร้าวแบบเฉียงๆ ในทิศทางเดียวกัน หรือรอยแตกลามยาวถึงขอบผนัง สันนิษฐานว่ากำลังเกิดปัญหากับฐานรากอาคารที่มีการทรุดตัว

3. รอยร้าวผนังแบบแนวทแยง หรือ เฉียงกลางผนัง

รอยร้าวบนผนัง-3

ลักษณะ รอยร้าวเฉียงขนาดใหญ่ 45 องศา พาดกลางผนัง

สาเหตุ เกิดจากทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของตัวบ้าน จนดึงผนังให้ฉีกขาดออกจากกัน

ความอันตราย ถือเป็นรอยร้าวที่อันตราย ไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ ควรตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความรุนแรง

4. รอยร้าวผนังแนวดิ่ง

รอยร้าวบนผนัง-4

ลักษณะ มีรอยร้าวเป็นแนวตั้งจากขอบเพดานลงมา

สาเหตุ พื้นรับน้ำหนักมากเกินไป

ความอันตราย เป็นรอยร้าวที่อันตราย  ควรตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว

5. รอยร้าวบนเสา

รอยร้าวบนผนัง-5

 ลักษณะ มีรอยร้าวตรงโคนเสา-ต้นเสา รอยร้าวเป็นแนวดิ่งลงมา หรือรอยร้าวกึ่งกลางเสา

สาเหตุ เสารับน้ำหนักได้ไม่ดีพอ รับน้ำหนักมากเกินไป โครงสร้างเสื่อมสภาพ

ความอันตราย มีความอันตรายขั้นรุนแรง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียกผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบโดยเร็วที่สุด

6. รอยร้าวบนพื้น

รอยร้าวบนผนัง-6

ลักษณะ รอยร้าวบนพื้นเป็วแนวทแยง จากคานฝั่งหนึ่งสู่คานอีกฝั่งหนึ่ง

สาเหตุ โครงสร้างคานเหนือผนังมีการแอ่นตัว คานรับน้ำหนักมากเกินไป

ความอันตราย มีปัญหาที่โครงสร้าง ควรน้ำสิ่งของที่มีน้ำหนักออกจากบริเวณพื้นที่ และควรตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

วิธีซ่อมแซมเบื้องต้น สำหรับรอยร้าวที่ไม่เป็นอันตราย

  1. หากรอยร้าวขนาดใหญ่ ต้องกรีดบริเวณรอยร้าวให้เป็นปากฉลาม กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร เอาปูนส่วนที่แตกออกมาให้หมด
  2. ทำความสะอาด ขจัดฝุ่น เศษปูน หรือถ้ามีสีเก่าหลุดล่อน ควรใช้เกรียงโป้วสีขูดสีออกให้หมด
  3. อุดรอยด้วยวัสดุที่เหมาะสม เช่น อะคริลิก กาวซิลิโคน โพลียูรีเทน และในกรณีที่รอยร้าวขนาดใหญ่ต้องอุดปูนเข้าไปให้เต็มโพรง
  4. ขัดแต่งให้เรียบ ทิ้งให้ผนังแห้งสนิท
  5. จากนั้นใช้ลูกกลิ้งทาสี โดยเลือกสีที่มีคุณสมบัติฟิล์มสีที่หยืดหยุ่นทาทับ

เห็นได้ว่า รอยร้าวบนผนัง เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะรอยร้าวบางประเภทอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาโครงสร้างที่รุนแรง อาจจะเป็นสาเหตุให้บ้านและอาคารถล่มลงมาได้ ดังนั้น แนะนำให้เพื่อนๆ มั่นสังเกตให้ดี ถ้าพบรอยร้าวที่อาจจะเป็นอันตราย ควรเรียกผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด แต่ถ้ารอยร้าวนั้นไม่ได้มีการขยายเพิ่มเติม เป็นเพียงรอยร้าวเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถซ่อมแซมเบื้องต้นเองได้ และที่สำคัญต้องเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของบ้านและอาคารในระยะยาว

สุดท้ายนี้ ช่างช้างขอฝาก เครื่องมือช่างโซมิค อุปกรณ์ช่างคุณภาพ ที่เป็นตัวช่วยให้การซ่อมแซมนั้นง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ลูกกลิ้งทาสี 2IN1 ขนแน่นฟู ตัวลูกกลิ้งมีขนาดใหญ่ ช่วยให้งานเสร็จได้เร็ว แปรงทาสี  อุ้มสีดีและส่งสีได้ดีเยี่ยม เกรียงโป้วสี สามารถแซะสีออกได้ดี เหล็กสปริงแข็งแรง ไม่บิ่นเสียรูป โดยสามารถซื้อออนไลน์ได้แล้วที่ Shopee และLAZADA และติดตามข่าวสารสาระดีๆ ได้ที่ Facebook Somictools หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน LINE OA @Somic นะครับ

LINE@Somic