ป้องกันน้ำรั่วซึม ตรวจเช็กบ้านให้ดีรับมือหน้าฝน – Somic อุปกรณ์คู่ใจช่าง

ป้องกันน้ำรั่วซึม ตรวจเช็กบ้านให้ดีรับมือหน้าฝน

Home / บทความ / ป้องกันน้ำรั่วซึม ตรวจเช็กบ้านให้ดีรับมือหน้าฝน Return to Previous Page
ป้องกันน้ำรั่วซึม

ฝนตกทีไร นอกจากจะต้องเตรียมหากระสอบทรายมากันน้ำท่วมแล้ว หลายคนยังเจอกับ ปัญหาน้ำซึมเข้าบ้าน อีกด้วย ถ้าหากไม่อยากต้องคอยรับศึกรอบด้าน โดยเฉพาะกับ ปัญหาน้ำซึมเข้าบ้าน ช่างช้างขอแนะนำให้ลองอ่านวิธีแก้ไข เพื่อ ป้องกันน้ำรั่วซึม ให้ปวดหัว ได้เลยในบทความนี้


สำรวจสิ่งเหล่านี้ก่อนเจอปัญหาน้ำซึมเข้าบ้าน

ตรวจเช็กบ้านรับหน้าฝน เช็ค จุดรั่วซึม ป้องกันน้ำรั่วซึม

1. มองหาจุดน้ำรั่วซึมรอบบ้าน

  • ควรตรวจสอบแหล่งที่มาของน้ำซึมเข้าไปในผนัง เช่น ถังเก็บน้ำรั่ว ท่อส่งน้ำชำรุด ปัญหาท่อประปาเก่า รอยรั่วจากวัสดุที่ใช้ฉาบปูนเสื่อมคุณภาพ แม้ปัญหาน้ำซึมเข้าบ้านอาจจะยังไม่เกิด แต่หากพบปัญหาเหล่านี้ เราก็สามารถแก้ไขได้โดยการโป้วรอยร้าวตามผนังเพื่อ ป้องกันน้ำรั่วซึม ซึ่งขอแนะนำอุปกรณ์ยอดนิยมอย่างเกรียงโป้วสี โซมิค ที่แข็งแรง ทนทาน แถมยังใช้งานก็ง่ายและมีประสิทธิภาพ
  • เมื่อรอยรั่วเล็กๆ บริเวณหน้าต่างบ้านอาจจะเป็นชนวนในการเกิดปัญหาน้ำซึมเข้าบ้านได้ ดังนั้นก่อนที่เรื่องเล็กจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ หากพบเจอปัญหานี้ แนะนำให้รีบใช้ปืนกาว โซมิค  ปืนกาวสุดฮิตที่ช่างมืออาชีพเลือกใช้ มาใช้ช่วยในการอุดรอยรั่วต่างๆ เหล่านี้เพื่อ ป้องกันน้ำรั่วซึม
  • หากตรวจพบว่ามีคราบน้ำที่ลุกลามไปตามเพดานหรือผนังต่างๆ สาเหตุน่าจะมาจากหลังคารั่ว ดังนั้นควรใช้ผู้ช่วยมือหนึ่งอย่างแผ่นบิวทิล โซมิคที่จะช่วยในการเพิ่มการยึดเกาะ และป้องกันน้ำรั่วซึม บริเวณรอยร้าวต่างๆ จนหมดปัญหาเรื่องรอยรั่วที่รบกวนใจ
ตรวจเช็กบ้านรับหน้าฝนเพื่อ เช็ค เศษ ขยะ บนรางน้ำ ป้องกันน้ำรั่วซึม

2. กำจัดเศษใบไม้และสิ่งปฏิกูลบนรางน้ำและท่อระบายน้ำ  ต้องไม่ลืมว่าด้านบนและรอบๆ บ้าน อาจจะมีทั้งเศษใบไม้และเศษขยะสะสมอยู่ในรางน้ำ ท่อระบายน้ำ และก่อให้เกิดการอุดตันได้ เศษซากที่เน่าเปื่อยนี้จะทำให้เกิดแอ่งน้ำบนหลังคาและรอบบ้าน หลายครั้งก็กลายเป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำรั่วไหลในจุดต่างๆ ได้ ดังนั้นแนะนำให้หมั่นสำรวจและทำความสะอาดรางน้ำและท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะก่อให้เกิดน้ำท่วม

ตรวจเช็กบ้านรับหน้าฝนเพื่อ ตัดกิ่งไม้ใกล้ตัวบ้าน

3. ตัดแต่งกิ่งไม้และค้ำยันต้นไม้ใหญ่ แม้เราจะห้ามการเกิดพายุฝนไม่ได้ แต่เราก็สามารถลดความเสียหายได้เมื่อเกิดพายุลมแรง โดยอาจจะตัดแต่งกิ่งไม้ที่รกรุงรังหรือใช้การค้ำยันไม้ใหญ่ เพื่อป้องกันต้นไม้ถูกลมโค่นล้มเมื่อรากถูกดึงออกจากพื้นดินหากเจอกับพายุ

ตรวจเช็กบ้านรับหน้าฝนเพื่อ ขัดล้างพื้น

4. ทำความสะอาดพื้นหลังฝนตก ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อพื้นของเราเจอน้ำฝน ก็อาจจะทำให้เกิดตะไคร่น้ำในจุดที่มีน้ำขังได้ ซึ่งนอกจากจะสกปรกแล้ว ยังอาจจะทำให้ลื่นหกล้มได้ ดังนั้นแนะนำว่าหลังจากฝนตกหรือน้ำท่วม ควรหมั่นทำความสะอาดบริเวณพื้นและทางเดินอยู่เสมอเพื่อป้องกันการลื่นและอุบัติเหตุอื่นๆ

ตรวจเช็กบ้านรับหน้าฝน เก็บเฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน

5. เก็บหรือคลุมเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง หลายบ้านมีสวนสวยๆ พร้อมเฟอร์นิเจอร์ แต่หากเปียกน้ำบ่อยๆ จากการต้องเจอฝนตกทั้งในและนอกฤดู สิ่งของเหล่านี้ก็อาจจะเสียหายได้ ดังนั้นแนะนำให้เลือกใช้พลาสติกคลุมเฟอร์นิเจอร์ หรือหากชิ้นไหนสามารถเคลื่อนย้ายได้ ก็ควรยกเก็บไว้ในบ้าน

ตรวจเช็กบ้านรับหน้าฝนเพื่อ ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

6. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายนอก  แนะนำให้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั้งก่อนและหลังฝนตก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้ารั่ว นอกจากนี้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ ฟิวส์ ตัวป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (GFCI) เต้ารับ ปลั๊ก และสวิตช์ อาจทำงานผิดปกติได้เมื่อเกิดปัญหาน้ำซึมเข้าบ้านหรือเจอกับน้ำท่วม

ตรวจเช็กบ้านรับหน้าฝนเพื่อ ต่อเติมกันสาด ป้องกันน้ำรั่วซึม

7. ต่อเติมกันสาด นอกจากจะช่วยปกป้องบ้านจากแสงแดดและฝนฟ้าคะนองแล้ว กันสาดยังช่วยยืดอายุการใช้งานวัสดุต่างๆ เช่น ซิลิโคนกันซึมหรือยาแนวตามขอบหน้าต่าง นอกจากนี้หากเลือกกันสาดที่มีดีไซน์เหมาะกับบ้าน ก็ถือเป็นตัวช่วยให้บ้านของคุณสวยน่าอยู่ยิ่งขึ้น

เป็นยังไงกันบ้าง กับข้อแนะนำในการเเช็กบ้านรับหน้าฝนจากช่างช้าง เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม เข้าบ้าน เช็คบ้านแล้วเจอปัญหา ก็อย่าลืมซ่อมแซมด้วย “เครื่องมือช่างโซมิค” ไม่ว่าจะ โป้ว อุด หรือ ซ่อมสี โซมิคมีเครื่องมือมากมายให้เลือกใช้เพื่อให้งานซ่อมออกมา สวย เนี๊ยบ เหมือนใหม่อีกครั้ง


เลือกดูอุปกรณ์สีของทางโซมิคได้ที่ อุปกรณ์งานสี Archives – Somic (somictools.com)

หาอุปกรณ์ทาสีโซมิคได้ที่ร้านวัสดุ หรือโฮมเซ็นเตอร์ใกล้บ้าน และทางช่องทางออนไลน์ ได้ที่ : Shopee >> https://shp.ee/43dssjb

หรือ ปรึกษาข้อมูลอื่นๆ ทักหาเราได้ที่ :
LINE OA: @somic (https://lin.ee/i0Wm9a1)
Facebook : somictools (http://m.me/somictools)